คอมพิวเตอร์ เป็น เครื่องจักร แบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วย ความจำ รูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึด สารสนเทศ ที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บ ข้อมูล ไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ.1982 คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่อง
ประเภทของการ์ดจอ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. Integrated graphics card หรือที่เรียกกันติดปากว่า ?การ์ดจอออนบอร์ด? ถูกออกแบบมาให้ใช้งานแสดงผลทั่วไปได้โดยประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดและชิปเซต ต้องหยิบยืมทรัพยากรมาใช้ เช่น แรมของเครื่องมาใช้เป็นแรมของการ์ดจอ ทั้งยังมี core ในการประมวลผลที่ไม่ได้รวดเร็วนัก
2. Dedicated graphics card เรียกกันบ่อย ๆ ว่า ?การ์ดจอแยก? หมายถึง การ์ดจอที่มีการทำงานแยกออกมาเป็นของตัวเองทั้งหน่วยประมวลผลการ์ดจอและแรมของการ์ดจอ ทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่จะมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับระดับของการ์ดจอแยก ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตการ์ดจอแยกนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัท คือ ATI และ NVIDIAหลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียู เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลมาที่การ์ดแสดงผลเพื่อที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพ จากนั้นการ์ดแสดงผลก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ จะเห็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการส่งถ่ายข้อมูล ดังนี้
- Graphics Processor เป็นหน่วยประมวลผลของการ์ดจอ ความเร็วหน่วยประมวลผลขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ถ้าเป็น Intel ชิปเซตจะมีผลในส่วนนี้ ส่วนถ้าเป็น ATI หรือ NVIDIA จะมีหน่วยประมวลผลการ์ดจอเป็นของตัวเอง
- Memory เป็นหน่วยความจำของการ์ดแสดงผลที่เรียกกันว่า VRAM นั่นเอง การ์ดจอออนบอร์ดนี้จะขึ้นอยู่กับ RAM Bus ของเครื่อง
- Graphics BIOS มีในการ์ดจอแยก จะเป็นตัวเก็บข้อมูลพื้นฐานของการ์ดจอเพื่อให้สามารถเข้ากันกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้
- Digital-to-Analog Converter (DAC) เป็นตัวที่ช่วยจัดการระหว่าง VRAM กับจอแสดงผล ในปัจจุบัน DAC หรือ RAMDAC มีความเร็วสูงจนเกินพอ เราจึงไม่ค่อยพูดถึงส่วนนี้กัน
การ์ดจอออนบอร์ดกับการ์ดจอแยกแตกต่างกันอย่างไร ?เราจะเห็นได้ว่าโดยหลัก ๆ แล้ว GPU และ VRAM จะมีผลต่อประสิทธิภาพการ์ดจอโดยตรง ปกติแล้วการ์ดจอออนบอร์ดจะมีประสิทธิภาพของ GPU และ VRAM ด้อยกว่าการ์ดจอแยก เพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแสดงผลสูง ๆ เพียงแค่ทำให้พอแสดงผลภาพ 2 มิติหรือ 3 มิติได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แน่นอนว่าประสิทธิภาพต้องได้การ์ดจอแยกไปเต็ม ๆจะรู้ได้อย่างไรว่าการ์ดจอไหนออนบอร์ด ?
1. ดูที่ยี่ห้อ ที่เห็นกันเกลื่อนก็คือ Intel ที่มีการ์ดจอออนบอร์ดให้มาพร้อมสำหรับผู้ที่ใช้งานทั่วไป เช่น ดูหนัง ฟังเพลง บางครั้ง ATI หรือ NVIDIA ก็ทำการ์ดจอออนบอร์ดออกมาเหมือนกัน ซึ่งจะเป็นรุ่น low-end สำหรับโน้ตบุ๊กราคาประหยัดในยุคก่อน
2. ดูที่ชื่อรุ่น นอกเหนือจาก intel แล้ว อีกสองยี่ห้อที่เราจะสับสนกันมากนั่นก็คือ ATI AMD NVIDIA ที่ผลิตการ์ดจอแยกออกมา แต่ดันมีการ์ดจอออนบอร์ดแฝงออกมาด้วย ซึ่งเราอาจเรียกการ์ดจอออนบอร์ดนี้เป็นการ์ดจออยู่ในระดับ Low-end โดยส่วนใหญ่แล้วรุ่นของการ์ดจอสองค่ายนี้จะประกอบไปด้วยเลข 4 หลัก ไม่ก็ 3 หลัก เช่น ATI Mobility Radeon HD4650 โดยที่หลักพันจะบ่งบอก series ใหญ่ รองลงมาคือหลักร้อยจะบ่งบอกระดับของการ์ดจอ หลักสิบจะบอกความแรงที่แตกต่างกันเล็กน้อย, nVidia Geforce GT210M หลักร้อยจะบ่งบอกระดับ series ใหญ่ รองลงมาคือหลักสิบจะบอกถึงระดับการ์ดจอ และหลักหน่วยจะบอกความแรงที่ต่างกันเล็กน้อยตามรูปแบบเดียวกัน3. ดูที่ Memory Speed การ์ดจอออนบอร์ดจะไม่มีแรมเป็นของตัวเอง ทำให้ไม่มีการเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับความเร็วของแรมการ์ดจอ (Memory Speed) ในการตรวจสอบ Memory speed จำเป็นต้องใช้โปรแกรมตรวจสอบหรือหาข้อมูลจากในเว็บไซต์
แหล่งที่มา http://bit.ly/2rZWMTQ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น